คำถามบทที่
2
จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
⏩1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก
และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ ผู้ที่ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกคือคณะราษฎร์
เป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศในขณะนั้นและมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ซึ่งเหตุผลของผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามที่ถือเป็นฉบับแรก
คือ คณะราษฎร์ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยได้กล่าวไว้ว่า “บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาล
นโยบายสามารถนำประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี
สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์
ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า”
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ
อยู่ในหมวดที่ 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม
มาตรา 14ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน
ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม
การอาชีพ
⏩2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร
อธิบาย
ตอบ
ในแนวนโยบายแห่งรัฐซึ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญพุทธศักราช
2492 นั้น ได้แบ่งออกเป็น 3 หมวดได้แก่หมวดที่
3 หมวดที่ 4 หมวดที่ 5 ซึ่งแต่ละหมวดจะมีความแตกต่างออกไป จะบ่งบอกถึง สิทธิเสรีภาพ
การทำหน้าที่ในการศึกษาอบรมและนโยบายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปวงชนชาวไทยที่รับการศึกษาและบุคคลที่อยู่ในแวดวงการศึกษาทั้งหมด
จะมีส่วนได้ส่วนเสียกับนโยบายเหล่านี้ซึ่ง ทั้ง 3 หมวดนี้จะมีด้วยกัน
5 มาตรา โดยมีรายละเอียดดังนี้
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม
เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา
สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล
ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา
ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี
มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ
และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ
การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดา
เนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน
รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
⏩3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ
พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
อธิบาย
ตอบ แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญในปีพุทธศักราช
2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521
นั้นมีความเหมือนกันเนื่องจากในหัวข้อประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานั้นแต่ละปีพุทธศักราช
มีโครงสร้างและองค์ประกอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอยู่ในที่ 5
เหมือนกันทั้ง 3 พุทธศักราช คือ
รัฐจะต้องส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม
การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ
การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน
รัฐพึงสนับสนุนการวิจัยในศิลปะและวิทยาการต่าง ๆ
⏩4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศกราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 25492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ การศึกษาเมื่อปีพุทธศักราช 2475-2490 และ พุทธศักราช 2549-2517
มีความแตกต่างกัน ดังนี้
พุทธศักราช 2475-2490 คือ
การศึกษาขึ้นอยู่กับสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยมีการควบคุมการศึกษาโดยหน่วยงานต่างๆ
แต่ให้เสรีภาพในการศึกษาไม่บังคับอะไรมากมาย แต่ก็จำเป็นต้องศึกษา
พุทธศักราช 2549-2517 คือ
การศึกษาเริ่มเป็นระบบมากขึ้น
มีหน่วยงานของรัฐบาลให้ความช่วยเหลือในการศึกษาทั้งในเรื่องของ ทุนการศึกษา
และมีการบังคับให้ศึกษาตามระบบมีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาที่แน่นอน
และมีบทลงโทษสำหรับบุคคลที่ไม่สนใจในการศึกษา
⏩5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ มี - เหมือนกัน คือ
รัฐจัดการศึกษาให้กับบุคคลมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี
และจะต้องจัดอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
- มีความแตกต่างกัน คือ
รัฐจะตอ้งจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชน จัดการศึกษาอบรมให้
เกิดความรู้คู่คุณธรรมและจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ
⏩6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
ตอบ เหตุผลที่รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึงเพราะว่าทุกคนจะต้องได้รับสิทธิและเสรีภาพความเสมอภาคกัน
ไม่ว่าจะเป็นเพศใด รวยหรือจนทุกคนก็มีสิทธิ์เท่าเทียมกัน
ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม เพื่อต้องการให้ทุกคนได้มีการศึกษาที่เท่าเทียมกัน
โดยไม่แบ่งช่วงชั้นวรรณะหรือความได้เปรียบเสียเปรียบกัน
และในการปรับรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของประเทศและตามเศรษฐกิจในยุคของประเทศในช่วงนั้นๆ
⏩7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ เพื่อสร้างความเป็นเสถียรภาพและความเป็นปึกแผ่นให้กับประเทศ
ได้มีความรู้ความสารถอยู่ในสังคม
ได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกันทั้งในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน
ให้บุคคลเลื่อมใสศรัทธาใน
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ให้เด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
คุณธรรมและจริยธรรม
หากไม่ปฏิบัติตามก็ถือว่าละเมิดและไม่ปฏิบัติตามกฎหมายสังคมก็จะขาดความเป็นปึกแผ่น
วุ่นวาย
⏩8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร
จงอธิบาย
ตอบ รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับที่สนับสนุนให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเปิดโอกาสให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
คิดว่าการศึกษาก็จะมีประสิทธิภาพ และปรับปรุงได้ตรงจุดมากขึ้น
เพราะองค์กรส่วนท้องถิ่นจะสามารถตีโจทย์ความต้องการของประชาชนหรือความต้องการของลูกหลานได้ว่าต้องการศึกษาในรูปแบบใด
มีข้อบกพร่องตรงส่วนไหน
นี่ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการให้องค์กรได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของลูกหลานของตนเอง
⏩9. เหตุใดการจัดการศึกษา
รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชน สงเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
ตอบ เพราะว่า รัฐต้องการเห็นเยาวชนเหล่านี้มีความรู้ความสามารถได้รับการช่วยเหลือส่งเสริมในทุกระดับโดยไม่ตั้งข้อแบ่งแยกกับทุกคนที่ขาดทุนในการศึกษา
และประเด็นที่รัฐต้องทำเพราะรัฐต้องการให้การศึกษาของไทยและคนไทยมีความรู้
ความสามัคคีกันในทุกๆระดับการศึกษา และเพื่อให้ทุกคนในประเทศได้รับความเท่าเทียมกันทุกคน
แม้ว่าบุคคลเหล่านั้นจะมีสถานภาพทางสังคมที่ด้อยกว่าผู้อื่น
หรือมีวุฒิภาวะที่แตกต่างกันก็ตามทุกคนล้วนมีสิทธิและเสรีภาพ
รัฐจึงต้องเข้าไปช่วยเหลือและให้ความคุ้มครอง
พัฒนาและส่งเสริมให้มากขึ้นยิ่งกว่าบุคคลปกตินั้นเอง
⏩10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
มีผลต่อการพัฒนาประเทศ
อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ
มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เสรีภาพ
การศึกษาอบรมให้กับเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบรูณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ
สติปัญญา คุณธรรมจริยธรรม โดยมีแนวทางในการจัดการศึกษา รัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่
คุณธรรมเช่นกัน
และจัดการศึกษาภาคบังคับให้เข้ารับการศึกษาอบรมโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
สำหรับการศึกษาภาคบังคับ ต่อมาได้เพิ่มเติมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12
ปี รัฐจะต้องจัดอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ พร้อมทั้งจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ
หรือเรียกชื่อว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติขึ้น”
และยังมีผลในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบโดยให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
ประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงประชามติเห็นชอบในรัฐธรรมนูญ
มีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ
ประชาชนได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
ทำให้ประชาชนมีความรู้ความสามารถมากขึ้น และยังปิดช่องว่างความแตกต่างระหว่างบุคคลอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น