วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบปลายภาควิชากฏหมายการศึกษา

ให้นักศึกษาทำทุกข้อลงในบล็อกของนักศึกษา (เวลา 8.00-11.30 น)

1.ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า  ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ       ศีลธรรม หมายถึง ความประพฤติตนในทางที่ทางกายและวาจา เป็นหลักแห่งความประพฤติที่ดีโดยพฤติกรรมแหล่านี้ประพฤติชอบอันเนื่องมาจากคำสอนทางศาสนา
              จารีตประเพณี  หมายถึง  ระเบียบแบบแผนของความประพฤติที่มนุษย์ปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณหรือตั้งแต่อดีต ถ้าฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามถือว่าเป็นความผิด ส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักธรรมศีลธรรมและจริยธรรม
               กฎหมาย หมายถึง คำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์  หรือเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับมนุษย์ในสังคม เพื่อความสงบเรียบร้อย ซึ่งมีอำนาจสูงสุด หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามย่อมได้รับโทษ
ในความคิดของดิฉันทั้ง 3 อย่างนี้มีลักษณะที่ต่างกันค่ะ
เนื่องจากศีลไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว เพราะมันเกี่ยวข้องกับความรู้สึกภายในจิตเท่านั้นเป็นการบังคับจิตใจตัวเองให้มุ่งอยู่ในทางการประพฤติที่ดี โดยพฤติกรรมแหล่านี้ประพฤติชอบอันเนื่องมาจากคำสอนทางศาสนา แต่จารีตประเพณีระเบียบแบบแผนของความประพฤติที่มนุษย์ปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณ เป็นการปฏิบัติที่สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นเท่านั้น บุคคลภายนอกท้องถิ่นจะยากที่จะรับรู้จารีตประเพณีของชุมชนอื่นๆ อีกทั้งยังไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์จารีตประเพณีไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะจะขึ้นอยู่กับหลักธรรมของชุมชนนั้นๆ   ซึ่งตรงกันข้ามกับกฎหมาย ที่มีความชัดเจนในการกำหนดกฎเกณฑ์และมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร ในกฎหมายนั้นประชาชนทุกคนต้องรับรู้และเข้าใจ ว่าสิ่งไหนควรหรือไม่ควร เพราะถือว่าเป็นคำสั่งและกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับมนุษย์ในสังคม เพื่อความสงบเรียบร้อย ซึ่งมีอำนาจสูงสุด หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามย่อมได้รับโทษ ถึงแม้ว่าทุกอย่างล้วนจะมีความแตกต่างกัน แต่ก็มีบางอย่างที่คล้ายกันและเกี่ยวพันกัน ทุกอย่างล้วนเป็นเครื่องมือที่ทำให้มนุษย์ประพฤติตนหรือกระทำในสิ่งทีดีงาม มีความปลอดภัยในการใช้ชีวิตในสังคม สามารถให้เกียติซึ่งกันและกัน เพื่อความสงบเรียบร้อย และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

  2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร มีการจัดอย่างไร โปรดยกตัวอย่าง   รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ 
คำสั่ง คสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง
(5 คะแนน)
 ตอบ      ศักดิ์ของกฎหมาย คือ ลำดับชั้นระหว่างกฎหมายประเภทต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้มีอำนาจในการตรากฎหมาย การจัดศักดิ์ของกฎหมาย มีความสำคัญต่อกระบวนวิธีการต่างๆ ทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้  การตีความ   และการยกเลิกกฎหมาย
                เกณฑ์ที่ใช้กำหนดศักดิ์ของกฎหมายพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย   กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา   และเป็นการใช้อำนาจในการออกกฎหมายร่วมกันของสองสภา  คือ วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร  ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุด  ในขณะที่กฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมา คือ พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด จะถูกพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรก่อนแล้วจึงจะผ่านไปยังวุฒิสภา ถือเป็นการแยกกันในการใช้อำนาจออกกฎหมาย
เมื่อกฎหมายแต่ละฉบับถูกบัญญัติโดยองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมายแตกต่างกัน ผลก็คือ ทำให้กฎหมายแต่ละฉบับมีศักดิ์ของกฎหมายหรือลำดับชั้นของกฎหมายไม่เท่ากัน  โดยลำดับชั้นของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกันนี้ หมายถึง ค่าบังคับของกฎหมายแต่ละฉบับจะสูงต่ำแตกต่างกันไป  เช่น รัฐธรรมนูญซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศและเป็นกฎหมายแม่บท  กฎหมายฉบับอื่นที่มีลำดับชั้นต่ำกว่า 
ดังนั้น กฎหมายลูกจะขัดกับกฎหมายแม่ไม่ได้  ถ้ากฎหมายลูกขัดกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายนั้นก็มีผลเป็นอันบังคับใช้ไม่ได้
การจัดแบ่งลำดับชั้นของกฎหมายไทยได้  ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญ, คำสั่งคณะปฏิวัติ, คำสั่ง คสช.
2. พระราชบัญญัติ, พระราชกำหนด, พระบรมราชโองการ
3. พระราชกฤษฎีกา, กฎกระทรวง
4. เทศบัญญัติ


3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้
ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า


           "วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป" จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้  ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้ (5 คะแนน)
 ตอบ     สำหรับดิฉันในการกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นที่ผิดต่อจรรยาบรรณวิชาชีพครูเป็นอย่างมาก เพราะการเป็นครูนั้น ครูถือได้ว่าเป็นมารดาที่สองในการอบรมสั่งสอน ให้ความรู้แก่นักเรียนโดยเฉพาะการเป็นครูนั้นถือได้ว่าเป็นบุคคลของประชาชนหรือของประเทศชาติที่พ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กๆฝากฝังไว้ การเป็น
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ ผู้เรียน ชุมชน สังคม มีความสุภาพเรียบร้อย และช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้เรียน  แต่ในการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นการกระทำที่ทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจของเด็กเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้เด็กเกิดการฝังใจไปตลอดชีวิต ในฐานะที่ดิฉันเรียนวิชากฎหมายการศึกษานั้นควรมีการลงโทษครูท่านนี้เนื่องจากไม่มีจรรยาบรรณการเป็นครูที่เพียงพอ เพราะเด็กแต่ละคนมีพื้นฐานความรู้และพื้นฐานของครอบครัวที่ต่างกัน  ดังนั้น ครูควรหาวิธีการสอน หรือแนวการสอนใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมในการอ่านของนักเรียนมากขึ้น ครูควรเข้าใจ เมตตาและเอ็นดูเด็กเปรียบเสมือนลูกของเราเอง เพราะเด็กเหล่านี้สามารถเป็นประชากรที่ดีของประเทศชาติได้ในอนาคตต่อไป


4. ให้นักศึกษา สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ
                สำหรับตัวดิฉัน
                จุดแข็ง (Strengths)
                                - เป็นคนพูดเก่ง อัธยาศัยดี
                                - ตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจนมีจุดยืนที่มั่นคง                    
     - เป็นคนชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆตลอดเวลา
                                - สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการทำงานได้
                                - มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
                                - มีความพร้อมในการเรียนและทำงานอยู่เสมอ
                                - มีความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ
               
                จุดอ่อน Weaknesses 
- ขี้เกียจและชอบผัดวันประกันพรุ่ง
- ชอบลังเลในการตัดสินใจ
- ไม่ชอบอ่านหนังสือ
- มีความสะเพร่าในการทำงาน
- ชอบคิด ชอบวางแผน แต่ไม่ชอบลงมือทำ

                โอกาส Opportunities
                                -  ได้เข้าร่วมอบรมและทำงานร่วมกับผู้อื่นในกลุ่ม
                                - สามารถนำทฤษฎีที่เรียนมา มาปรับเปลี่ยนและใช้ในชีวิตประจำวันได้
                                - สามารถนำความรู้ที่เรียนไปบูรณาการกับศาสตร์อื่นๆได้
                                - มีโอกาสได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น                  
       
                อุปสรรค Threats
     - เก็บคำพูดของคนอื่นมาคิดมากจนทำให้รู้สึกขาดความมั่นใจ
                                - เป็นคนที่มีความจำสั้น
                               
 5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย (5 คะแนน)
ตอบ       ข้อดี
                ในการสอนวิชานี้ของอาจารย์ อาจารย์สอนโดยเน้นให้ผู้เรียนได้สืบค้นและค้นคว้าด้วยตัวเอง เพราะเนื่องจากด้วยเนื้อหาที่แน่นว่าด้วยเรื่องกฎหมาย พระราชบัญญัติต่างๆ ทำให้เราต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจด้วยตนเอง เพราะสิ่งเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา การเรียนด้วยความเข้าใจโดยการไปสืบค้นจากแหล่งต่างๆจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมและสนุก เพราะมีการเรียนรู้ที่หลากหลาย มากมายช่องทางในการสืบค้นอีกด้วย  อีกทั้งยังมีนวัตกรรมใหม่ๆใช้ในการสอนโดยการใช้ บล็อก ทำให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและอีกด้วย และการสอนของอาจารย์นั้นยังเน้นบูรณาการกับศาสตร์อื่นๆ โดยเฉพาะเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมอีกด้วย
                ข้อเสีย

ในการสอนวิชานี้ ในบางหัวข้อที่มีเนื้อหายาก บางครั้งอาจารย์อธิบายเนื้อหาไม่ชัดเจน ทำให้เราไม่เข้าใจในเนื้อหานั้น  และอยากให้อาจารย์ยกตัวอย่างในแต่ละหัวข้อเพื่อความชัดเจนของเนื้อหาอีกครั้งค่ะ

อนุทินที่ 8

SWOT

               SWOT เป็นหลักการวิเคราะห์รูปแบบหนึ่ง ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในมหาวิทยาลัยฮาร์ดวาร์ด
 มาตั้งแต่ปี 1960 โดยจะใช้ในการประเมินสถานการณ์และวางแผนกลยุทธ์ รวมทั้งตรวจสอบสภาพองค์กรทั้งภายในและภายนอก
               การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ/ชุมชน (SWOT) เพื่อศึกษาแนวโน้มพัฒนาการขององค์การหรือชุมชน การสำรวจ เพื่อศึกษาความต้องการของชุมชน และความต้องการของชาวบ้านในชุมชน และนำมาสรุปเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้ตรงและตอบสนองความต้องการของชุมชน การวิเคราะห์สภาพขององค์การเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาจะต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย ซึ่งการวิเคราะห์ SWOT เป็นการจัดทำแผนกลยุทธ์วิธีหนึ่งซึ่งจะช่วยให้องค์การ หรือชุมชนได้ทราบถึงสถานภาพของตัวเอง อันจะทำให้สามารถกำหนดเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและประสบความสำเร็จ โดยวิเคราะห์จากสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกขององค์การหรือชุมชนนั้น ๆ 

องค์ประกอบของ SWOT
มีทั้งหมด 4 อย่างด้วยกัน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ SWOT โดยเป็นการนำตัวอักษรหน้าในภาษาอังกฤษของหลักการทั้งหมด 4 อย่างมารวมกัน เพื่อความสะดวกสบายและง่ายในการจดจำ  ซึ่งประกอบไปด้วย
               1. จุดแข็ง Strengths หมายถึง ความสามารถและสถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นบวก ซึ่งองค์กรนามาใช้เป็นประโยชน์ในการทางานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง การดาเนินงานภายในที่องค์กรทาได้ดี
               2. จุดอ่อน Weaknesses หมายถึง สถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นลบและด้อยความสามารถ ซึ่งองค์กรไม่สามารถนามาใช้เป็นประโยชน์ในการทางานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง การดาเนินงานภายในที่องค์กรทาได้ไม่ดี
               3. โอกาส Opportunities หมายถึง ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่เอื้ออานวยให้การทางานขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นประโยชน์ต่อการดาเนินการขององค์กร
               4. อุปสรรค Threats หมายถึง ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่ขัดขวางการทางานขององค์กรไม่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ หรือหมายถึงสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นปัญหาต่อองค์กร

วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 7


ตอบคำถามต่อไปนี้ (1-3 พ.ร.บ.ภาคบังคับ, 4 พ.ร.บ.บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ) ลงในบล็อกของนักศึกษา

1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545

                เหตุผลที่มีการประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 นั้นเพราะว่า
กฎหมายบังคับบิดา มารดาหรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในการดูเเลภาคบังคับจำนวน 9 ปี โดยให้เด็กอายุย่างเข้า 7 ปีเข้าเรียนในสถานศึกษาจนอายุย่างเข้า 16 ปี เว้นเเต่จะสอบได้ชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับ จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา เพื่อให้เหมาะสมกับกฎหมายดังกล่าว

2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร

ก. ผู้ปกครอง หมายความว่า  บิดามารดา  หรือบิดา  หรือมารดา  ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน
ข.เด็ก หมายความว่า  เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก  เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
ค.การศึกษาภาคบังคับ หมายความว่า  การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
             ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายความว่า  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด

วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 6

คำถามบทที่ 3

⏩1. นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542
                กการศึกษา
                ตอบ  หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม  
โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความ
ก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัย
เกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

                ขการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                ตอบ การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา การศึกษาต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนของการศึกษาไม่สามารถข้ามขั้นได้

                คการศึกษาตลอดชีวิต
                ตอบ  การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

                งมาตรฐานการศึกษา
                ตอบ  ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษา และเพื่อใช้เป็นหลักในการเปรียบเทียบสำหรับส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมิน และการประกันคุณภาพทางการศึกษา

                จการประกันคุณภาพภายใน
                ตอบ  การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น

                ชการประกันคุณภาพภายนอก
                ตอบ  การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอก    โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรอง เพื่อเป็นการประกันคุณภาพและให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
                ซผู้สอน
                ตอบ  ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ

                ครู
                ตอบ  “ครูหมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
ครู มีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ
                1. ทำหน้าที่หลักด้านการเรียนการสอน
                2. ทำหน้าที่นั้นในสถานศึกษา (ที่สอนต่ำว่าปริญญา)

                ญคณาจารย์
                ตอบ  บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญาของรัฐและเอกชน

                ฐผู้บริหารสถานศึกษา
                ตอบ  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน

                ฒผู้บริหารการศึกษา
                ตอบ  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป

                ณบุคลากรทางการศึกษา
                ตอบ  ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทาหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ
  

วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 5

วิเคราะห์ข่าวเกี่ยวกับพระ

เปิดใจ เจ้าอาวาสดัง-แกนนำยกรถทหาร

ถ้าไม่ยอม จะลุกฮือเต็มพุทธมณฑล

                เป็นภาพเหตุการณ์ชวนตกใจ หลังเกิดการปะทะกันขึ้นระหว่างทหารพล.ร.9 ที่มาปิดกั้นทางเข้าพุทธมณฑล เพื่อไม่ให้รถยนต์ รถบัสของพระสงฆ์ และประชาชนที่จะมาร่วมสัมมนา "สกัดแผนล้มการปกครองคณะสงฆ์ไทย" ทำให้คณะพระสงฆ์ที่เข้าไม่ได้เกิดการปะทะกันและมีการรื้อลวดหนามออกเปิดทางให้รถยนต์ได้เข้าส่วนหนึ่ง จากนั้นทหารได้ปรับแผนด้วยการใช้รถยนต์คัมวี่ มาปิดกั้นไม่ให้รถบัสขนาดใหญ่เข้า ทำให้เกิดการปะทะกันอีกรอบ
        พระประสงค์ ปัญญาวุฒโธ เจ้าอาวาสสำนักสงฆ์เขาพลุคำ ต.วังคัน อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี เข้าต่อรองให้ทหารนำรถยนต์คัมวี่ ที่จอดขวางทางเข้าออก แต่ทางทหารไม่ยอมดำเนินการตามเจรจา พระประสงค์ จึงประกาศให้พระช่วยกันยกรถยนต์คัมวี่ของทหารหลบออกนอกเส้นทาง เจ้าหน้าที่ทหารก็ได้เข้ามาเจรจาว่าคนขับรถคันดังกล่าวไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพราะถูกทำร้ายร่างกายขณะชุลมุน ขณะเดียวกันได้มีพระสงฆ์ที่นำคณะมาจากรถบัสได้ยอมเดินลงจาดรถบัสและเดินเท้าจากถนนพุทธมณฑล เข้ายังลานหน้าพระพุทธมณฑล

อนุทินที่ 4

คำถามบทที่ 2

จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

⏩1.  ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ    ผู้ที่ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกคือคณะราษฎร์ เป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศในขณะนั้นและมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ซึ่งเหตุผลของผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามที่ถือเป็นฉบับแรก คือ คณะราษฎร์ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยได้กล่าวไว้ว่า “บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาล นโยบายสามารถนำประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ  อยู่ในหมวดที่ 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ


⏩2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย 
ตอบ   ในแนวนโยบายแห่งรัฐซึ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2492 นั้น ได้แบ่งออกเป็น 3 หมวดได้แก่หมวดที่ 3 หมวดที่ 4 หมวดที่ 5 ซึ่งแต่ละหมวดจะมีความแตกต่างออกไป จะบ่งบอกถึง สิทธิเสรีภาพ การทำหน้าที่ในการศึกษาอบรมและนโยบายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปวงชนชาวไทยที่รับการศึกษาและบุคคลที่อยู่ในแวดวงการศึกษาทั้งหมด จะมีส่วนได้ส่วนเสียกับนโยบายเหล่านี้ซึ่ง ทั้ง 3 หมวดนี้จะมีด้วยกัน 5 มาตรา โดยมีรายละเอียดดังนี้
      หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย 
มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
      หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
      
     หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดา เนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 3




แฉ! เพจซื้อขายวุฒิปลอม ม.3 ถึงป.โท 2,500 - 7,000 บาท


          ผู้สื่อข่าวตรวจสอบแฟนเพจใช้ชื่อ  วุฒิการศึกษาทุกระดับชั้นราคาถูก”   มีสมาชิกติดตามมากกว่า 8,600 คน     พร้อมอวดอ้างว่าการกระทำนี้ต้องการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา   หวังปรับวุฒิเพิ่มเงินเดือน หรือสมัครงานได้   และยังมีการโฆษณาว่าเอกสารที่ได้รับ   จะเหมือนกับของจริงจนไม่สามารถตรวจสอบได้    เพราะจัดทำจากบุคลากรภายในองค์กรการศึกษานั้น  นอกจากนี้ยังเสนอโปรโมชั่นพิเศษให้กับผู้ที่สนใจ   กดแชร์เพจเพื่อรับส่วนลด 500 บาท  หรือรับวุฒิการศึกษาฟรีทันที 
           การกระทำดังกล่าวส่งผลให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในสังคมออนไลน์   พร้อมเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหานี้โดยเร็ว   ผู้ที่ใช้วุฒิการศึกษาปลอมจะมีความผิด   ตามประมวลกฎหมายอาญา   มาตรา 265    ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี  และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท   หากปลอมแปลงวุฒิการศึกษาของรัฐจะมีความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ  ซึ่งจะต้องรับโทษเพิ่มขึ้น          
                                                                                      
                               ที่มา http://news.sanook.com/2114546/  7 ธ.ค. 59 (12:06 น.)

➨วิเคราะห์ข่าว


                จากการที่ดิฉันได้อ่านข่าวว่ามี เพจซื้อขายวุฒิปลอม ม.3 ถึงป.โท ในราคา2,500 - 7,000 บาทโดยใช้ชื่อเพจว่า  “วุฒิการศึกษาทุกระดับชั้นราคาถูก”   ซึ่งดิฉันได้เคยเข้าไปอ่าน ในเพจนี้ โดยเพจนี้การอวดอ้างว่าการกระทำนี้ต้องการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา   เพื่อหวังปรับวุฒิเพิ่มเงินเดือน หรือสมัครงานได้   และยังมีการโฆษณาว่าเอกสารที่ได้รับเหมือนกับของจริงจนไม่สามารถตรวจสอบได้    เพราะจัดทำจากบุคลากรภายในองค์กรการศึกษานั้น    และนอกจากนี้ยังเสนอโปรโมชั่นพิเศษให้กับผู้ที่สนใจ   ยิ่งถ้าหากกดแชร์เพจเพื่อรับส่วนลด 500 บาท  หรือรับวุฒิการศึกษาฟรีทันที ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายด้านการศึกษาอย่างรุนแรง เนื่องจากสิ่งเหล่านี้เป็นการปลอมแปลงเอกสารในทางราชการ โดยวุฒิการศึกษานั้นความผิดในฐานปลอมแปลงเอกสารราชการ  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาทถึง 10,000 บาท และเมื่อได้ใช้วุฒิการศึกษาปลอมในการสมัครงาน ก็ย่อมมีความผิดฐานใช้หรืออ้างเอกสารราชการปลอม ซึ่งจะเกิดความเสียหายเป็นอย่างมากแก่ผู้อื่นหรือประชาชนและสถาบันที่เกี่ยวข้องในวุฒิการศึกษา  สถาบันต่างๆควรมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนและมีข้อบังคับเพื่อป้องการการทำวุฒิปลอม และควรมีการออกกฎหมายที่ชัดเจนเพื่อจะให้ผู้คนได้เกรงกลัวกับกฎหมายที่สร้างขึ้น ในฐานะที่ดิฉันเป็นครูคนหนึ่งรู้สึกตกใจกับข่าวนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งการเรียนในปัจจุบันนั้นมีมากมายหลายวิธีที่สามารถทำให้เราได้จบการศึกษาพร้อมมีความรู้ติดตัวไปด้วยเพื่อสามารถใช้ในการทำงานและดำรงชีวิต การเรียนจนจบการศึกษานั้นไม่ยากเกินความสามารถของทุกคน ดังนั้นเราควรใช้ความสามารถของตัวเองเพื่อความภาคภูมิใจชองตนเองและครอบครัว