วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 2

คำถามบทที่ 1
⏩1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ        เพราะกฎหมายสามารถควบคุมพฤติกรรมและความขัดแย้งของมนุษย์ ทำให้สังคมมีระเบียบ วินัย และสงบเรียบร้อย ถ้าหากมนุษย์เราไม่มีกฎหมายก็จะเกิดความวุ่นวายภายในสังคม เพราะมนุษย์ซึ่งมักจะชอบทำอะไรตามใจตนเอง ถ้าต่างตนต่างทำตามใจและการกระทำนั้นทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ก็จะเกิดปัญหา ความขัดแย้ง มีการล้างแค้นได้โต้ตอบกันไปโต้ตอบกันมาไม่มีที่สิ้นสุด เพราะไม่มีกฎหมายเข้าไปจัดการให้ความเป็นธรรมในที่สุดสังคมนั้นประเทศนั้นก็จะล่มสลายไม่สามารถดำรงอยู่ได้

 ⏩2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ       ไม่ได้  เพราะสังคมในปัจจุบันนั้นมนุษย์ทุกคนย่อมมีจิตสำนึกที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งมักจะชอบทำอะไรตามใจตนเอง ถ้าต่างตนต่างทำตามใจและการกระทำนั้นทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายและเดือดร้อน ก็จะเกิดปัญหา และความขัดแย้ง อาจมีการมีการล้างแค้นได้โต้ตอบกันไปโต้ตอบกันมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด สังคมก็เกิดความวุ่นวาย ไม่มีความเป็นระบบ และมนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

⏩3.  ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้  
               ก.  ความหมาย        
                ตอบ   กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์  ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด  หากใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษ      
              ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย  
               ตอบ ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมายมี   ประการคือ
               1.  เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด
               2.  มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์
               3.  ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค   เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติกัน ในสังคมจะสงบสุข
               4.  มีสภาพบังคับซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามหมายโดยเฉพาะการกระทำ และการงดเว้น
การกระทำตามกฎหมายนั้นๆที่กำหนด  หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ และสภาพบังคับในทางอาญาคือ โทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ

                  ค. ที่มาของกฎหมาย    
             ตอบ      
1.บทบัญญัติแห่งกฎหมาย  เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร  เช่น กฎหมายประมวลรัษฎากร รัฐธรรมนูญ  พระราชบัญญัติ 
2. จารีตประเพณี  เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน  หากนำ ไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย  เช่น  การชกมวยเป็นกีฬา  หากคู่ชกบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิต  ย่อมไม่ผิดฐานทำร้ายร่างกายหรือฐานฆ่าคนตาย กำหนดจึงไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย 
3. ศาสนา  เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี  เช่น ห้ามลักทรัพย ห้ามผิดลูกเมีย กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
4.คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา  ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูง เป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลัง ๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่ง ความคิดของตนว่าทำไมจึงตัดสินคดี
                  ง. ประเภทของกฎหมาย 
            ตอบ        กฎหมายมี 2 ประเภท
กฎหมายภายใน
                   1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                   2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                   3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                   4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
กฎหมายภายนอก
                   1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
                   2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
                   3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
⏩4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ตอบ        เนื่องจากในแต่ละประเทศมีประชาชนมากมาย  การดำรงชีวิตจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและมนุษย์ทุกคนต้องปรับตัวเข้าหากันในการอยู่ร่วมกันในสังคม  แต่การอยู่ในคนหมู่เยอะนั้นจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับ เพื่อให้ทุกคนในสังคมจะได้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นระเบียบเพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย และหากทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายประเทศก็จะมีความสุขและมีความเป็นระเบียบมาก หากแต่ละประเทศไม่มีกฎหมายบังคับหรือควบคุมความประพฤติของคนในสังคมอาจทำให้สังคมเหล่านั้นเกิดความวุ่นวายและนำไปสู่ความเดือดร้อนในสังคมได้

⏩5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ    สภาพบังคับในทางกฎหมายคือ การปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆ กำหนด หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้โทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง ได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ

⏩6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง  มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ มีความแตกต่างกัน คือแตกต่างกันด้วยสภาพบังคับในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง กล่าวคือ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ล่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจจะถูกยึดทรัพย์มาขายทอดตลาด เอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล หรือมิฉะนั้น อาจถูกกักขังจนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลก็ได้ ส่วนในกฎหมายอาญานั้น มีสภาพบังคับอีกประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด ซึ่งโทษดังกล่าวมีอยู่ 5 สถานด้วยกัน คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน

⏩7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ       แบ่งเป็น 2 ระบบดังนี้
                  1. ระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษร เป็นระบบเอามาจาก “JusCivile”ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญจะถือเอาคำพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของนักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้
                 2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคำว่า เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นำเอาจารีตประเพณีและคำพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด

⏩8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วย อะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ        ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
                             1.  ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
                             2.  ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
                             3.  ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
            1.  ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย
                 1.1.   ระบบลายลักษณ์อักษร ( Civil law System ) ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก  กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบ มีการจดบันทึก มีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภามีการจัดหมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษา กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง
                    1.2. ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี ( Common Law System) เป็นกฎหมายที่มิได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่ และไม่มีมาตรา  หากแต่เป็นบันทึกความจำตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆมา ตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้ง     บันทึกคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณีหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลายในเครือจักรภพของอังกฤษ
             2.  ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย
                      2.1.   กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล กำหนด ข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา โดยเฉพาะในทางอาญา คือ ประมวลกฎหมายอาญา จะบัญญัติลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไร และในทางแพ่ง   คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์  จะกำหนดสาระสำคัญของบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่างๆตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น
                      2.2.   กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารลบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง กฎหมายวิธีสบัญญัติจะกำหนดระเบียบ ระบบ ขั้นตอนในการใช้ กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา  ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก
          3.  ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
                        3.1.  กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศ รัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม จึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน 
                    3.2.  กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ด้วยกันเอง เป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม  จึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครองความเสมอภาคมิให้เอาเปรียบต่อกันจนเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น  

 ⏩9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร  มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ       ศักดิ์ของกฎหมาย คือ เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมาย ในการจัดลำดับจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าไม่ได้และเราจะพิจารณาอย่างไร โดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออก   กฎหมายโดยใช้เหตุผลที่ว่า       1. การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็น ตัวแทนของปวงชน
2.การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจำเป็นของสังคม
3.ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น

⏩10.เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ เป็นการกระทำที่ผิด เพราะประชาชนมีสิทธิที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเองเพราะประเทศไทยเป็นประเทศประชาธิปไตยมีสิทธิเสียงเท่ากันรัฐธรรมนูญ ระบุอยู่แล้วว่า  
                1. บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                2. บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
                3. บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิของตนเอง
                4. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ

⏩11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
 ตอบ      กฎหมายการศึกษา คือ บทบัญญัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีกฎหมายการศึกษาขึ้น ที่จะเชื่อมโยงกับกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษาคือ จะเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคัของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับกฎหมาย เพื่อให้บุคคลประพฤติปฏิบัติตาม ไปสู่การพัฒนาคนและสังคมสู่ความเจริญงอกงาม ธำรงไว้ซึ่งอิสรภาพ เสรีภาพของบุคคลและประเทศชาติ

 ⏩12.ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ       ถ้าเราไม่รู้กฎหมายทางการศึกษาจะทำให้เกิดผลกระทบหลายด้านไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการจัดการศึกษาอย่างไรที่จะต้องเป็นไป  เพื่อพัฒนาคนไทยให้ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจสติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรม ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  และจะต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษานั้นต้องทำอย่างไร  สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่คนเป็นครูจะต้องทราบเพื่อจะได้ส่งเสริม กระบวนการ จัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น